ร่างมาตรฐานฉบับแรก
ในประเทศไทย
จาก "ล่าม" เพื่อ "ล่าม"
และ "ผู้ใช้บริการล่าม"
วัตถุประสงค์

กำหนดมาตรฐานวิชาชีพล่าม
เพื่อกำหนดมาตรฐานวิชาชีพล่ามในประเทศไทย และยกระดับการทำงานล่ามให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ (ที่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ)

สร้างหลักประกันคุณภาพ
เพื่อสร้างหลักประกันการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ การจ้างงานที่เป็นธรรม ตลอดจนเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบวิชาชีพล่ามสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพและปลอดภัย

กำหนดเกณฑ์
การรับรองคุณวุฒิ
เพื่อกำหนดเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพล่าม และใช้เป็นแนวทางการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและรับรองคุณวุฒิวิชาชีพล่าม

สร้างฐานข้อมูลล่าม
เพื่อส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพล่ามและสร้างฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อล่ามและผู้ใช้บริการล่าม
ทำไมต้องมีมาตรฐานล่าม
ล่ามในประเทศไทยจำนวนมากประกอบอาชีพโดยยังไม่มีมาตรฐานวิชาชีพมารองรับ ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพการทำงาน การกดราคา ความปลอดภัยใน
การทำงานและประเด็นจริยธรรมต่างๆ ทางฝั่งผู้ใช้ล่ามเองก็ไม่มั่นใจว่าคุณภาพของล่ามจะเป็นเช่นไร มาตรฐานล่ามนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อยกระดับและกำกับคุณภาพล่าม




มาตรฐานจากเสาหลัก 3 ด้าน
-
สมรรถนะในการปฏิบัติงาน หมายถึง ทักษะที่ล่ามพึงมีตามวิชาชีพแต่ละระดับ
-
มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง แนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพล่าม
-
ภาระรับผิดทางกฎหมาย หมายถึง ขอบเขตการรับผิดและภาระผูกพันทางกฎหมายจากการให้บริการล่าม